วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ซอฟต์แวร์และภาษา

1.ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่3 ทุกข้อ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 3 ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการอย่างไรบ้าง ได้อธิบาย
ตอบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์หรือ application software จะถูกติดตั้งและทำงานบนระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้มีทั้งประเภทสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองตามท้องตลาดและพัฒนาขึ้นมาใช้เองเฉพาะกรณี

2.ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไป มีกี่ประเภท ได้ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ - สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
        - ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว
นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์รายงาน ดูหนัง ฟังเพลง หรือเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
         - ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย
มุ่งเน้นการให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆคน นิยมใช้สำหรับการประมวลผลงานข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย ซึ่งจะให้บริการข้อมูลต่างๆที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง
         - ระบบปฏิบัติการแบบฝัง
มักพบเห็นได้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือสมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้เป็นอย่างดี เป็นระบบปฏิบัติการที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางระบบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) คืออะไร นิยมใช้กับอุปกรณ์ประเภทใดได้อธิบาย
ตอบ  -ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอหรือ Smart phone บางรุ่น สามารถช่วยในการทำงานของอุปกรณ์แบบไม่ประจำที่เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี เกิดขึ้นมาหลังสุดพร้อม ๆ กับที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้น บางระบบมีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยวด้วย เช่น รองรับกับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลงหรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
       - ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( Embedded OS ) เรา มักจะพบเห็นการใช้งานของระบบปฏิบัติการแบบฝังนี้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาด พกพา เช่น Palm, pocket PC, Smart phone รวมถึงอุปกรณ์ขนาดเล็กอื่น ๆ ซึ่งพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้


4. โปรแกรมป้องกันไวรัส มีความสำคัญอย่างไรบ้าง
ตอบ เป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับป้องกันปัญหาเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีซึ่งโดยปกติมักจะมีการติดตั้งโปรแกรมนี้ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายหรือการทำงานกับบุคคลอื่นหลายๆคน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนยามคอยตรวจสอบดูแลระบบทั่วไปว่ามีปัญหาใดๆเกิดขึ้นหรือไม่ และจะแก้ปัญหาหรือกำจัดไวรัสดังกล่าวได้อย่างไร 
ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความปลอดภัยและราบรื่นมากยิ่งขึ้น

5. นายอภิชาติต้องการเก็บข้อมูลไฟล์หลายๆไฟล์ เป็นอันเดียวกันและให้มีขนาดที่เล็กลง ควรจะใช้โปรแกรมประเภทใดได้อธิบาย
ตอบ ควรใช้โปรแกรมประเภทบีบอัดไฟล์ ซึ่งจะทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง และเก็บไฟล์เป็นชิ้นงานเดียวกัน เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถแตกหรือแยกไฟล์ออกมาภายหลังได้ ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น PKZip, WinZip เป็นต้น
6. ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง ได้ยกตัวอย่างประกอบ 3 โปรแกรม
ตอบ โปรแกรมประเภท word processing หรือโปรแกรมประมวลคำที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันเป็นอย่างดี พอจะยกตัวอย่าง 3 โปรแกรมดังนี้
1. Microsoft Word
2. Sun StarOffice Writer
3. Pladao Office Writer
7. ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) คืออะไร
ตอบ ซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่างๆของโปรแกรมแต่ละตัวมาจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายรวมทีเดียว ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีคือ Microsoft Office, Adobe CS, Macromedia Studioเป็นต้น ซึ่งทำให้การใช้งานมีความง่ายและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เพราะโปรแกรมที่นำเอามารวมกันนั้นจะมีคุณสมบัติที่จัดอยู่ในกลุ่มการทำงานแบบเดียวกัน อีกทั้งยังทำให้มีราคาถูกลงกว่าการแยกซื้อซอฟต์แวร์แต่ละตัวมาใช้ด้วย
8.นางสาวศิริพรต้องการทำรายงานการรับจ่ายเงินในแต่ละวันอย่างง่าย ควรใช้โปรแกรมประเภทใดได้อธิบาย
ตอบ ควรใช้โปรแกรมประเภทตารางคำนวณ ซึ่งสามารถสร้างรายงานการรับ-จ่ายเงินประจำวันอย่างง่ายๆได้ โดยป้อนข้อมูลและตัวเลขค่าใช้จ่ายที่ต้องการลงไปในแผ่นตารางคำนวณนั้นและสามารถหาผลลัพธ์อย่างง่ายๆพร้อมทั้งพิมพ์รายงานสรุปยอดหรือเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายต่างๆออกมาเป็นกราฟได้
9. Internet Ralay Chat คืออะไร แตกต่างต่าง Instant Messaging อย่างไรบ้าง
ตอบ
เป็นโปรแกรมประเภทที่ใช้สำหรับสนทนากลุ่ม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกกลุ่มที่จะสนทนาได้ตามต้องการ สามารถตอบโต้กันได้ได้ด้วยข้อความและคนอื่นๆในห้องสนทนาสามารถเห็นข้อความนั้นได้พร้อมๆกัน เหมือนกับการพูดคุยในที่สาธารณะทั่วไป นอกจากนั้นยังสามารถเลือกสนทนาเพียงรายคนหรือเฉพาะตัวได้ แต่โปรแกรมประเภทส่งข้อความด่วนหรือ instant messaging อาจมีวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างจาก IRC บ้างคือ มุ่งเน้นให้ใช้งานเพื่อส่งหรือฝากข้อความที่ต้องการได้แบบทันทีและนิยมใช้สนทนากันแบบรายบุคคลมากกว่า
10. โปรแกรมประเภทการนำเสนองาน เหมาะสมกับกลุ่มคนประเภทใดได้ให้เหตุผลประกอบ
ตอบ
เหมาะสมกับการนำเสนอขายสินค้าของนักขายมืออาชีพ ครู อาจารย์หรือวิทยากรที่ต้องการนำเสนองานให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ เนื่องจากสามารถใส่เทคนิคการนำเสนอผลงานต่างๆเข้าไปได้มากกว่า ทำให้ผู้เข้าชมการนำเสนอดังกล่าวรับรู้ผลิตภัณฑ์หรือสร้างการจดจำได้ง่ายกว่า
11.ในการเรียกค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมใดที่นิยมเอาใช้มากที่สุด และมีคุณสมบัติเด่นๆอะไรบ้าง
ตอบ
โปรแกรมประเภทบราวเซอร์ จะถูกนำมาใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยสามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษรธรรมดา ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงข้อมูลประเภทเสียง
12. จงยกตัวอย่าง web application ที่นักศึกษารู้จักหรือใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 รายการพร้อมทั้งอธิบายหลักการทำงานด้วย
ตอบ
 Web application ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ยกตัวอย่างได้ดังนี้
1. Web base mail
เป็นโปรแกรมสำหรับใช้งานรับ-ส่งอีเมล์ผ่านเว็บไซท์ที่ให้บริการ โดยเข้าไปใช้งานได้ตลอดเวลาและทุกๆสถานที่ สะดวกต่อการใช้งานเพราะไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมอ่านเมล์ เพียงแค่ป้อนชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านเข้าไปในระบบ ก็สามารถใช้งานได้แล้ว
2. Bulletin board
เป็นโปรแกรมกระดานข่าว ที่มีไว้สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ หรือสอบถามข้อมูลที่สนใจ โดยจะมีคนมาตอบคำถามหรือพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ โดยจะแสดงคำถามหรือหัวข้อที่มีการโพสต์ไว้ให้ผู้เข้าชมเห็นหรืออ่านได้ทุกคน บางระบบอาจจะมีการสงวนสิทธิ์เฉพาะสมาชิกได้
3. Guest book
เป็นโปรแกรมบนเว็บอีกประเภทหนึ่ง มักใช้สำหรับการลงบันทึกการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซท์นั้นๆคล้ายกับกระดานข่าว แต่ไม่นิยมใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่มุ่งเน้นให้เขียนข้อความถึงเจ้าของเว็บไซท์หรือทีมงานนั้นๆมากกว่า
13. ผู้ที่ทำงานด้านออกแบบและจัดการเว็บไซต์ เช่น webmaster ควรจะเลือกใช้โปรแกรมอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนในการทำงานได้อธิบาย
ตอบ
งานทางด้านการออกแบบและจัดการ website อาจจำเป็นต้องใช้โปรแกรมเพื่อช่วยเหลือการทำงานดังต่อไปนี้
1. โปรแกรมสำหรับออกแบบเว็บ
เพื่อใช้สำหรับการสร้างรูปแบบของเว็บเพจที่ต้องการ รวมถึงการจัดวางโครงสร้างทั่วไปของแต่ละเว็บเพจ โดยสามารถเลือกใช้โปรแกรมที่มีอยู่ได้ตามความต้องการ ที่รู้จักกันดี เช่น MicrosoftFrontpage, Macromedia Dreamweaver, NetObject Fusion เป็นต้น
2. โปรแกรมสำหรับส่งถ่ายข้อมูล
เพื่อให้การส่งข้อมูลไปเก็บไว้ยังเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการหรือ web server สามารถทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น อาจเลือกใช้โปรแกรมที่ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างดี เช่น Cute_FTP, WS_FTPเป็นต้น
3. โปรแกรมตกแต่งภาพทั่วไป
ใช้สำหรับการตกแต่งภาพที่จะนำไปใช้เผยแพร่บนเว็บไซท์ให้มีความสวยงามและน่าสนใจ อาจเลือกใช้จากโปรแกรมที่มีความสามารถหลากหลายและเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างดี เช่น Adobe Photoshopเป็นต้น
14. ซอฟต์แวร์ประเภท Open Source คืออะไร
ตอบ
คือกลุ่มของซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดเผยโค้ดที่ใช้สำหรับเขียนให้คนทั่วไปสามารถนำเอาไปใช้หรือพัฒนาต่อได้ โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแต่อย่างใด ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดด้วย ซึ่งโค้ดที่ได้มานั้นจะมาจากการพัฒนาด้วยทีมงานที่หลากหลายทั่วโลก โดยไม่ได้มุ่งหวังผลทางการค้าแต่อย่างใด
15. ภาษาระดับสูงมาก หรือ very-high level language มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ
ภาษาการเขียนโปรแกรมกลุ่มนี้จะช่วยให้รูปแบบการเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น โดยอาจใช้เพียงแค่หยิบหรือวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไป โดยที่ผู้เขียนโปรแกรมอาจจะรู้เพียงแค่ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้างเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องทราบว่ามันจะทำได้อย่างไร เพราะถือเป็นหน้าที่ของภาษาระดับสูงมากนั้นคอยจัดการแทนเอง ทำให้สร้างคำสั่งหรือรูปแบบหลักๆได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาในการอบรมการเขียนโปรแกรมมากนัก เพียงแต่ใช้ความรู้พื้นฐานในการเขียนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเอามาใช้ได้เลยทันที
16. จงยกตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 ไปใช้งาน มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายประกอบ
ตอบ
- ตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 5 ไปใช้ เช่น
        - ระบบหุ่นยนต์โดยการสร้างความรู้และการจำไว้ในตัวหุ่นยนต์หรือเครื่องจักรที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อสั่งการให้ทำงานบางอย่างที่ต้องการ
         - ระบบการสั่งงานด้วยเสียง
อาศัยหลักการป้อนข้อมูลด้วยเสียงแทนการพิมพ์หรือป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดเข้าไปตรงๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2.ให้หาข่าวเกี่ยวกับ Software และ Technology ที่นิยมใช้มากที่สุด และ Technogy มีฐานการผลิตอยู่ที่ประเทศใดบ้าง และผลิดเกี่ยวกับอะไร

หัวข้อข่าว IE10 บน Win8 เลิกใช้ Flash อีกราย
รายงานข่าวล่าสุดที่อาจทำให้ Adobe ต้องรู้สึกเซ็ง เมื่อ Microsoft ประกาศว่า ยูสเซอร์อินเตอร์เฟซ Metro UI ที่เน้นการโต้ตอบด้วยระบบสัมผัสบน Internet Explorer 10 ที่มาพร้อมกับ Windows 8 จะไม่สนับสนุนปลั๊กอินใดๆ ของ Flash อีกต่อไป ซึ่งนั่นหมายความว่า Microsoft กำลังจะเป็นยักษ์ใหญ่อีกราย หลังจาก Apple ที่ปฏิเสธการใช้ Flash กับบราวเซอร์ของทางบริษัท

รายงานข่าวชิ้นนี้ดูเหมือน Microsoft จะเห็นด้วยกับ Apple เนื่องจากทางบริษัทได้ตัดสินใจว่า Internet Explorer 10 เวอร์ชันที่ใช้ Metro UI บน Windows 8 ซึ่งทำงานกับอุปกรณ์หน้าจอระบบสัมผัสจะไม่สนับสนุนปลักอิน นั่นหมายความว่า มันจะไม่สนับสนุนเทคโนโลยี Flash ของ Adobe ที่เชื่่อมต่อการทำงานกับบราวเซอร์ด้วยปลั๊กอินนั่นเอง ผู้บริหาร Microsoft โพสต์ในบล็อกว่า เว็บไซต์หลายๆ แห่งได้ใช้ HTML5 เพื่อรองรับบราวเซอร์ทีไม่สนับสนุนปลัีกอิน Flash ซึ่งหากแนวโน้มเป็นเช่นนี้ ที่ยืนของ Adobe Flash ก็จะแคบลงไปอีก เพราะอาจจะเหลือแค่ Android ของ Google ที่ยังคงสนับสนุนอยู่ แต่ก็สนับสนุน HTML5 อย่างเต็มที่





          
"การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเว็บ และผู้บริโภคในการที่จะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้บราวเซอร์ด้วย อินเตอร์เฟซระบบสัมผัส โดยเฉพาะบราวเซอร์ที่ใช้ Metro UI อย่าง Internet Explorer 10 บน Windows 8 การใช้ HTML5 เพียงอย่างเดียวจะดีที่สุด และจะไม่มีปลั๊กอิน" ข้อความที่โพสต์ในบล็อกของ MS "ประสบการณ์ในการใช้งานที่ปลั๊กอินนำเสนอให้กับผู้ใช้วันนี้ มันไม่เหมาะกับการท่องเว็บด้วยรูปแบบของ Metro และเว็บไซต์รุ่นใหม่ที่ใช้ HTML5" นอกจากนี้ ยังมีการให้ข้อมูลอีกด้วยว่า การที่ Metro ได้รับการออกแบบไม่ให้รองรับปลั๊กอินจะช่วยให้แบตเตอรี่อยู่ได้นานขึ้น ตลอดจนเรื่องของความปลดภัย สเถียรภาพการทำงาน และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลผู้ใช้




ในอดีตปลั๊กอินมีความสำคัญกับเว็บ แต่วันนี้เว็บได้เดินทางมาไกลแล้ว โดยเฉพาะ HTML5 การที่จะยังคงเทคโนโลยีปลั๊กอินไว้จะเป็นการลดคุณภาพของประสบการณ์ในการท องเว็บด้วย Metro UI ใน IE10 บน Windows 8 ซึ่งหากมองย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว สตีฟ จอบส์ ซีอีโอของ Apple ในขณะนั้น ก็ยังพูดถึงประเด็นของปัญหาปลั๊กอินเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ Flash ต่อจากนี้ไป คงต้องติดตามกันดูว่า อนาคตของ Flash จะเป็นอย่างไร? เพราะขาหนึ่ง บราวเซอร์ชั้นนำเลิกสนับสนุน ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง HTML5 ก็กำลังเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีนี้ คุณผู้อ่านของเว็บไซต์ arip ล่ะครับ คิดเห็นอย่งไรกํบประเด็นนี้

หัวข้อข่าว. ไดร์ฟ เทสต์ ทดสอบสัญญาณมือถือ - ฉลาดคิด

สถิติปัญหาร้องเรียนของผู้ใช้บริการด้านโทรคมนาคม ทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์พื้นฐาน และสถานีวิทยุโทรคมนาคม ตั้ง แต่ 1 ม.ค.-15 พ.ค. 55 จากการรวบรวมข้อมูลของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค

มีเรื่องร้องเรียนเข้ามา 697 เรื่อง

โดยการใช้งานประเภทโทรศัพท์มือถือมีการร้องเรียนเข้ามาทั้งหมด 498 เรื่อง เมื่อจำแนกประเภทการร้องเรียน พบว่า มีการร้องเรียนเรื่องของคุณภาพบริการ 21 ราย คิดเป็น 4.22 เปอร์เซ็นต์ และมาตรฐานบริการ 69 ราย คิดเป็น 13.86 เปอร์เซ็นต์

สัปดาห์ที่แล้ว (14 มิ.ย.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ขับรถทด สอบสัญญาณการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ไดร์ฟ เทสต์) ตั้งแต่เวลา 09.30-11.30 น. ซึ่งใช้เส้นทาง กสทช.-พหลโยธิน-พญาไท-ราชเทวี-พระราม 4-ทางด่วนบางนา-สุวรรณภูมิ-ทางด่วนพระราม 9-กลับมาที่สำนักงาน กสทช. ด้วยวิธีสุ่มพื้นที่ทดสอบ มีผู้บริหารของ 3 ค่ายผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ร่วมทดสอบ

ขั้นตอน “ไดร์ฟ เทสต์” ใช้ระบบทดสอบแบบ Hardware based ทดสอบบริการด้านเสียง (วอยซ์) จำนวน 6 เครื่อง 6 เบอร์ ด้วยการทดสอบโทรฯจากมือถือไปยังมือถือ และมือถือไปยังโทรศัพท์บ้าน ส่วนการทดสอบด้านดาต้าใช้แอร์การ์ด 3 เครื่อง 3 เบอร์ โดยแต่ละส่วนทดสอบทั้งหมด 76 ครั้ง ตลอด 2 ชั่วโมง

ผลการทดสอบ พบว่า เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ มีอัตราการโทรฯสำเร็จ 99 เปอร์เซ็นต์ สายหลุด 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการทดสอบด้านเสียง แบ่งเป็นเอไอเอสสายหลุดในการโทรฯระหว่างมือถือ ส่วนดีแทคและทรูมูฟ สายหลุดในการโทรฯเข้าโทรศัพท์บ้าน

ส่วนการทดสอบด้านการรับ-ส่งข้อมูล (ดาต้า) ไม่ระบุค่าย ผู้ให้บริการ ได้ผลดังนี้ 1.74 เมกะบิต/วินาที 1.58 เมกะบิต/วินาที และ 0.996 เมกะบิต/วินาที เป็นการทดสอบผ่านแอร์การ์ดด้วยการใส่ซิมการ์ดของทั้ง 3 ค่ายผู้ให้บริการ ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟเอช

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการทดสอบครั้งนี้เพื่อให้ทุกคนรับรู้ถึงการทำงานของ กสทช. โดย กสทช.มีรถยนต์สำหรับไดร์ฟ เทสต์จำนวน 2 คัน ปกติเจ้าหน้าที่จะทดสอบสัญญาณมือถือทุกวันจันทร์-ศุกร์ เพื่อเก็บข้อมูลคุณภาพการให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่

“วันนี้ระบบโทรคมนาคมมีปัญหามาก เพราะทรัพยากรมีจำกัดแต่ผู้ใช้บริการมีจำนวนมาก แนวทางแก้ปัญหาระยะยาว คือการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้บริการ 3จี หากปีหน้าไม่สามารถดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์เพื่อให้บริการ 3จีได้ ปัญหาเรื่องโครงข่ายไม่ดีจะหนักกว่านี้”

พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าวต่อว่า แม้ผลการทดสอบวันนี้ทุกค่ายจะผ่านตามมาตรฐาน แต่ดูค้านสายตาผู้ใช้บริการ แต่ก็ต้องทดสอบเพื่อใช้บังคับทางปกครอง อย่างไรก็ตามการทดสอบไม่สามารถทำให้ได้ผลผ่าน 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมีปัจจัยเรื่องทรัพยากร โดยในกรุงเทพฯมีทรัพยากรเพียง 30 เปอร์เซ็นต์แต่มีปริมาณการใช้งานหนาแน่นมาก ผลที่ได้จากการทดสอบวันนี้เป็นการผ่านทางเทคนิค แต่คุณภาพบริการสามารถทำได้ดีกว่านี้.

ฐานการผลิต
บริษัท Microsoft มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

บริษัท Apple  ซิลิคอนแวลลีย์ อ่าวซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา

ผลิตเกี่ยวกับ
บริษัท Microsoft โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ

บริษัท Apple ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอปเปิลปฏิวัติคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 ด้วยเครื่องแอปเปิลทู (Apple II) และแมคอินทอช (Macintosh) ในยุค 80 ปัจจุบันแอปเปิลมีชื่อเสียงด้านฮาร์ดแวร์ เช่น ไอแมค ไอพอด ไอโฟน ไอแพด และร้านขายเพลงออนไลน์ไอทูนส์


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นายเอกลักษณ์  ทะเกิงลาภ 
คณะเทคโนโลยีการจัดการ
สาขาการจัดการ 1/2
คาบเรียนพุธเช้า 8.00-11.00

แบบฝึกหัดบทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดบทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

สรุปท้ายบท
คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของระบบคอมพิวเตอร์ ความหมายปละลักษณะสำคัญของของเครื่องคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบ ประเภท ตลอดจนการจัดประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของไมโครคอมพิวเตอร์ และบริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้เรื่องระบบคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์มี 4 องค์ประกอบ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. ข้อมูลและสารสนเทศ
4. บุคลากร (Peepleware)

องค์ประกอบแต่ละอย่างล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันทั้นสิ้น หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การทำงานจะไม่มีความสมบูรณ์เต็มที่ พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วยทำงาน 5 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยประมวลผลกลางหน่วยความจำหลั หน่วยความจำสำรอง ซึ่งทำหน้าที่ให้ประมวลผลหน่วยความจำหลักทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งประมวลผล หน่วยผลความจำสำรองจะใช้เป็นที่เก็บและ บันทึกข้อมุลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อสามารถเลือกใช้ภายหลังได้ และมีทิศทางของระบบการทำงานเป็นเหมือนเส้นทางส่งผ่านข้อมูลระหว่างซีพียูและหน่วยความจำให้สามารถเชื่อมต่อกันได้


แบบฝึกหัดบทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ ฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่จับต้องได้ สัมผัสได้ มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่อง (เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม) และที่ติดตั้งอยู่ภายนอก (เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์)ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุคำสั่งเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ โดยปกติแล้วจะถูกสร้างโดยบุคคลที่เรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (programmer) เป็นองค์ประกอบทางนามธรรม ไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้เหมือนกับฮาร์ดแวร์ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
2.ซอฟท์แวร์ประยุกต์


2. หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอพต์แวร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์หลักในการผลักดันซอฟต์แวร์ของไทย อาทิ Enterprise Software, Animation and Multimedia, Game and Mobile Applications และ Embedded Software ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ


3. นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานอย่างไร เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด เช่น สำนักงานบัญชีต้องการซอฟแวร์แบบใดที่เหมาะกับงานบัญชี


4. ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ 1. มีความชำนาญทางด้านเทคนิคโดยเฉพาะ
2.มีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
3.หน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้ใช้งานได้ตามปกติ


5. Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอย่างมีแบบแผน อาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟท์แวร์ และหาคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาได้ มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร อยู่ในทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์กลุ่มเดียวกับนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ พบเห็นได้กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น การสร้างระบบปฏิบัติการ การเขียนโปรแกรมเกมส์


6. การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)


7. binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ตอบ ระบบเลขฐานสอง หรือที่เรียกว่า binary system เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 กับ 1 เราเรียกว่าเป็นตัวเลขฐานสองหรือไบนารีดิจิต (binary digit) มักเรียกย่อๆว่า บิต(bit) นั่นเอง เกี่ยวข้องคือ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ ต้องแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน สถานะหรือรูปแบบนี้เราเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล


8. กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ขั้นตอนที่ 1 กด SHIFT+Dเพื่อป้อนตัวอักษร
ขั้นตอนที่ 2 สัญญาณของตัวอักษร D ส่งไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนที่ 3 แปลงอักษร D ให้อยู่ในรุปแบบมาตรฐาน ของรหัส ASCขั้นตอนที่ 4 แสดงผลโดยแปลงกลับเป็นตัวอักษร D บนอุปกรณ์แสดงผล


9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ยุคแรกใช้บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมลายทอผ้า นำบัตรแบบใหม่มาประยุกต์ใช้มากขึ้น เช่น IBM 80 Column พัฒนามาใช้สื่อแบบใหม่มากขึ้นจนถึงปัจจุบัน แบ่งการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้เป็น 2วิธีด้วยกันคือ
- ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) ผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูล เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) สำหรับข้อมูลประเภทตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ สแกนเนอร์ (scanner)สำหรับข้อมูลประเภทภาพ ไมโครโฟน (microphone) สำหรับข้อมูลประเภทเสียง ฯลฯ
-ผ่านสื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ดึงเอาข้อมูลที่ได้บันทึกหรือเก็บข้อมูลไว้ก่อนแล้วโดยใช้ สื่อเก็บบันทึกข้อมูล สำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ หรือซีดี เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลเหล่านี้โดยอาศัยเครื่องอ่านสื่อโดยเฉพาะ เช่น ฟล็อปปี้ไดรว์ ซีดีรอมไดรว์ บัตรเจาะรูจัดอยู่ในกลุ่มการนำเข้าข้อมูลวิธีนี้เช่นกัน (ปัจจุบันไม่พบเห็นการใช้งานแล้ว)


10. พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ “สมอง” และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้อง อะไรบ้าง
ตอบ หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย1. ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) 2. แอดเดรส3. บัส 4. หน่วยความจำแคช 5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา6. รีจิสเตอร์ 7. ทรานซิสเตอร์ 8. Arithmetic logic unit (ALU)9. Floating - Point Unit (FPU)10. Control Unit 11. Decode unit


11. ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ Rom คือ หน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ใช้เก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะข้อมูลใน ROM จะอยู่กับเครื่องอย่างถาวร ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องไปก็ไม่สามารถทำให้ข้อมูลหรือคำสั่งในการทำงานต่างๆหายไปได้นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าnonvolatile memoryส่วนRAM หน่วยความจำที่จดจำข้อมูลคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงานอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา หากไฟดับหรือมีการปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะถูกลบเลือนหายไปหมด


12. machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ วัฏจักรเครื่อง หมายถึง วงจรการทำงานของ Processor ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเวลาที่Processor ทำงาน โดยจะถูกควบคุมด้วยแผงวงจรเล็กๆ ที่ระบบ PC เรียกว่า Clock ซึ่งวัดหน่วยเป็นล้านรอบต่อวินาที (MHz)


13. ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ เวลาปฏิบัติการ อยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 (Execute และ Store) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้



----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

นายเอกลักษณ์  ทะเกิงลาภ
คณะเทคโนโลยีการจัดการ
สาขาการจัดการ
กลุ่มเรียน วันพุธเช้า 8.00-11.00

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความแตกต่างระหว่าง .Thumb Drive, Flash Drive, Handy Drive

เพื่อนๆ เคยสงสัยกันหรือเปล่าครับว่า...Thumb Drive, Flash Drive, Handy Drive มันแตกต่างกันอย่างไร
บางคน อาจคิดว่า มันคืออย่างเดียวกัน …แต่ไม่ใช่

ผมไปค้นหาข้อมูลมาบอกครับ

Thumb Drive
Thumb Drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติเหมือน CD-R, Floppy Disk, Hard Disk เป็นหน่วยความจำ ที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง Port USB และถือเป็นการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ คือไม่ต้องมีตัว Drive ตัว Disk พกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กเท่ากับหัวแม่มือ เป็นยุคแรกๆ ของอุปกรณ์จำพวก Flash Drive ความเร็วในการอ่าน เขียน ประมาณ 500KB/Sec มีความจุอยู่ระหว่าง 8 MB - 1024MB ในปัจจุบันอาจมีมากขึ้น สำหรับราคาในยุคแรกๆ ราคาสูง ขนาดความจุน้อย



Flash Drive
Flash Drive มีชื่อจริงว่า USB Mass Storage Device ส่วนใหญ่เรียกกันว่า USB Flash Memory Drive , USB Flash Drive Memory หรือ USB Flash Drive การใช้งานเชื่อมต่อกับ Computer ผ่านทาง Port USB ใช้ Flash Memory เก็บข้อมูล ทำงานเป็น Drive เหมือน HardDisk อ่านและบันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ซึ่งเป็นยุคต่อมาจาก Thumb drives ราคาถูกลง ความจุมีมากขึ้น ขนาดของตัว Flash Drive เล็กลงด้วย บางยี่ห้อมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว



Handy Drive
Handy Drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติและการทำงานเหมือน Flash drive แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือสามารถเล่นไฟล์ Mp3 ไฟล์วีดีโอ ไฟล์รูปภาพ ฟังวิทยุผ่านช่องเสียบหูฟัง และฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้ผลิตจะใส่ลงไป ใช้แบตเตอรี่มีทั้งแบบใช้ถ่าน AA , AAA หรือถ่านชาตร์ ซึ่งจะชาตร์ถ่านผ่านทาง Port USB รูปลักษณ์สวยงาม แต่มีขนาดใหญ่กว่า Flash drive เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ สำหรับราคาแพงกว่า Flash drive อยู่บ้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานที่หลากหลาย



------------------------------------------------------------------------------------------------------------


โดย นายเอกลักษณ์ ทะเกิงลาภ
คณะเทคโนโลยีการจัดการ
สาขาการจัดการ
วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
กลุ่มเรียน พุธเช้า (08.00 -11.00)

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 2

แบบฝึกหัดบทที่ 2

1.องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ
. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์มี 4 ประเภท

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
            1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)


2. Data หมายถึง
ตอบ.
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือ เหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งข้อมูลสามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ หรือสิ่งรอบๆ ตัว


3. Information หมายถึง
ตอบ. 
สารสนเทศ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสม และถูกต้อง จนได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการ อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และอยู่ในช่วงเวลา


4. INPUT Device มีอะไรบ้าง
ตอบ.
เป็นการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล โดย User จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง (input) และเครื่องจะนำไปประมวลผลเป็นข่าวสาร ซึ่งอุปกรณ์ในการนำาข้าของข้อมูลมาตราฐาน ได้แก่
1. แป้นพิมพ์(Keyboard) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร
2. เมาส์(Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
3. แทร็กบอล(Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่ แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน
4. จอยสติก (Joy Stick) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง ซ้ายขวา เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้
5. เครื่องอ่านบาร์โค๊ต (Bar Code Reader) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ (Bar Code)ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลข
6. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป
7. เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Reader: OCR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค ตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ
8. เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์
9. ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ มักใช้ในงานออกแบบ
10. จอสัมผัส (Touch Screens) เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM
11. กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์
12. ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้


5. OUTPUT Device มีอะไรบ้าง
ตอบ.
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


------------------------------------------------------------------------------------------------------------


โดย นายเอกลักษณ์ ทะเกิงลาภ
คณะเทคโนโลยีการจัดการ
สาขาการจัดการ
วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
กลุ่มเรียน พุธเช้า (08.00 -11.00)

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

สรุปท้ายบท
            คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์อย่างมาก  มีคุณสมบัติเด่นคือ  ความเป็นอัตโนมัติทำงานด้วยความเร็ว  มีความถูกต้องแม่นยำ  น่าเชื่อถือ  จัดเก็บข้อมูล ทำงานซํ้าๆกันและใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อติดต่อสื่อสารกันได้  คอมพิวเตอร์ในยุคแรกเน้นในการทำสงครามเป็นหลัก  ต่อมามีการพัฒนาให้ดีขึ้น  โดยปรับขนาดให้เล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เราสามารถนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในสายงานต่างๆ เช่น การใช้งานภาครัฐ ธุรกิจทั่วไป สายการบิน การศึกษา ธุรกิจนำเข้าและส่งออก ธนาคาร วิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นต้น
            ปริมาณผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายมากขึ้นการออกแบบตัวเครื่องในรุ่นใหม่ๆมีการปรับรูปลักษณ์แปลกตามากกว่าเดิม  นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาขีดความสามารถให้ใกล้เคียงกับมนุษย์  โดยนำเอาศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้  อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ตามคำสั่งที่ได้รับมาเท่านั้น  หากได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด  การประมวลผลก็ย่อมผิดตามไปด้วย  ผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าใจภาพรวมในการใช้งานของคอมพิวเตอร์ว่าไม่สามารถเอามาใช้แทนมนุษย์ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ มนุษย์ยังเปนผู้ควบคุมบางอย่างอยู่



แบบฝึกหัดท้ายบทที่1  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



1.ลักษณะเด่นของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปที่เราพบเห็นกันในปัจจุบันประกอบด้วยคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้
          1 ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) การประมาลผลของคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้                  คำสั่งที่ได้กำหนดไว้
          2 ความเร็ว (Speed) หากนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานในการประมวลผลจะมำงานได้รวดเร็วกว่า
          3 ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) คอมพิวเตอร์จะไห้ผลลัพล์ที่แม่นยำตามคำสั่งที่ป้อน
          4 ความน่าเชื่อถือ (Reliability) จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ จะมีความน่าเชื่อถือและ  สามารถนำไปไช้ประโยชน์อื่นๆได้จริง
          5 การจัดเก็บข้อมูล (Storage Capability) จะมีไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมากเพื่อเก็บข้อมูล
          6 ทำงานซ้ำๆได้ (Repeatability) ลดปัญหาจากการเหนื่อยหล้าจากการทามงาน
          7 การติดต่อสื่อสาร (Communication) สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันได้

2.เครื่อง SUAN-PAN เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. SUAN-PAN เป็นอุปกรณ์ประเภทลูกคิดที่เอามาใช้สำหรับคำนวณของชาวจีนในสมัยก่อนเพื่อช่วยในการคิดหาผลลัพธ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในยุคปัจจุบัน


3.แท่งคำนวณของเนเปียร์ สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตชื่อว่า จอห์น เนเปียร์ ซึ้งเป็นเครื่องมือที่ประกอบด้วยแท่งไม้ตีเส้นเป็นตารางคำนวนหลายๆแท่งเอาไว้ใช้สำกรับคำนวน

การทำงาน เมื่อต้องการคูณตัวเลขใดๆก็จะเอาแท่งเลขตัวนั้นๆมาวางเรียงต่อกัน เช่น ต้องการเลข 46732 ก็จะนำเอาแท่งเลข 4 6 7 3 และ 2 มาวางเรียงต่อกัน แล้วใช้แท่งดัชนี (index) ซึ่งเป็นแท่งหลักที่ใช้ในการหาผลลัพธ์จากการคำนวณมาวางไว้ด้านหน้าจากนั้นนำมาเทียบเคียงให้ตรงกับตัวเลขนั้นๆแล้วทำการคูณหาผลลัพท์ได้เลย


4.ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของคอมพิวเตอร์" คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
ตอบ."ชาร์ลส แบบเบจ" นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษแห่งมหาวิทยาลัยเคบริดจ์ เนื่องจากเขาเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลให้สามารถ ทำงานตามคำสั่งและเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด



5.เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
ตอบ. 
ENIAC (Electronics Numerical Integrator And Computer)ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นเพื่อการช่วยคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่



6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
ตอบ.
 เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเละชุดคำสั่งไว้ภายใน 
ได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่าง มาก



7.เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใด
ตอบ.
 UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจเครื่องแรก ใช้ในการทำนายผลการ
เลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา



8.ทรายซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. 
ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทดแทนการทำงานของหลอดสูญญากาศ โดยมีขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศ และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนและ
ต้องการประมวณผลที่เร็วขึ้น จึงทำให้ทรานซิสเตอร์ถูกพัฒนามาเป็น แผงวงจรรวม โดยมีความ
สามารถที่ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการนำเอาทรานซิสเตอร์จำนวนนับพันตัวมารวมกันเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียว
และมีขนาดเล็กลงจึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตลงไปได้มากและเครื่องที่ผลิตได้มีขนาดเล็กลงมาก



9.E-Government คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ.
 Electronic government หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโครงการที่นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสน
เทศอันทันสมัยมาให้บริการประชาชน ประชาชนชนทั่วไปสามารถใช้บริการต่างๆของภาครัฐบาล
ได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การยื่นเสียภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ต ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์
ที่เชื่อมโยงเข้าถึงกันหมดทั่วประเทศ ฯลฯ



10.สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) และมีการลดต้นทุนโดนนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไร
ตอบ.
 เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อยที่สุดเพื่อให้ สามารถแข่งขันกันในเรื่องราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง จึงทำให้มีคนนิยมใช้บริการจำนวนมาก โดยนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยมาช่วยในเรื่องของการรับจองการเดินทาง โดยผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆให้กับลูกค้า เพียงแค่แสดงบัตรใดๆที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้ทันที



11.ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอคีต
ตอบ. 
Computer Assiste Instruction เป็นสื่อการสอนรูปแบบใหม่ที่นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอื่นๆมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียที่ประกอบด้วย รูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูดและเทคนิคการนำเสนอต่างๆ ให้มีความน่าสนใจและก่อให้เกิดการอยากเรียนมากขึ้นถ้าหากเรียนแล้วไม่เข้าใจก็สามารถเรียนหรือฝึกฝนทบทวนซ้ำเองได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งสื่อแบบเดิม ไม่สามารถทำได้




12.รูปแบบของ E-banking สามารถ ทำได้ผ่านช่องทางอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบ
ตอบ. ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินได้หลายช่อง
         ทางมาก เช่น
           - ผ่านเครือข่ายอินเตอร์ 
                        การเข้าไปใช้ระบบ จะมีรายชื่อผู้ใช้( User name ) และรหัสผ่าน ( Pass Word ) ที่ให้เข้า
                        ไปทำธรุกรรมได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว บริการดังกล่าวครอบคลุมการทำธรุกรรมคล้ายกับระ
                        บบอื่น เช่น การโอนเงิน การสอบถามยอดเงินคงเหลือ ฯลฯ
           - ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ
                        ผู้ใช้เพียงกดหมายเลขโทรศัพท์อัตโนมัติที่ธนาคารระบุไว้ในการติดต่อทำธุระกรรม 
                        ก็สามารถเลือกทำรายการทางการเงินต่างๆ ได้เช่น การโอนเงิน การเติมเงินมือถือฯลฯ
           - ผู้ตู้ATM
                        ผู้ใช้บริการสามารถเลือกทำรายการธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้ATMที่มีให้บริการของธนาคาร
                        พาณิชย์ต่างๆ ได้ทั่วประเ้ทศ ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงินสด ฝากเงิน โอนเงิน และการชำระ
                        ค่าบริการต่างๆ ได้ซึ่งเปิดให้บริการ 24 ช.ม.



13.เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด และมีความแตกต่าง
กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ

ตอบ. คอมพิวเตอร์แบบมือถือ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนำไปใช้งานกิจ
         กรรมส่วนบุคคล เช่น บันทึกการนัดหมาย หรือการใช้ติดต่อทางธุรกิจ เช่น รับ-ส่งอีเมล์ ตรวจสอบ
         ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดหุ้น เป็นต้น แตกต่างจากไมโครคอมพิวเตอร์ืทั่วไป คือ มีขนาดที่เล็กลงและ
         พกพาติดตัวได้สะดวกกว่า โปรแกรมที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์อาจนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์มือถือ
         ได้เช่นกัน แต่อาจตัดทอนคุรสมบัติบางอย่างลงไปบ้างเล็กน้อย



14.แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพเสมือนกับ
         การเขียนลงบนกระดาษ หน้าจอสามารถพลิกไปมาได้ ลักษณะคือเหมือนกับการใช้งานคอมพิว
         เตอร์โน๊ตบุ๊คทั่วไปหรือพับแบบกระดาษรองเขียนหนังสือ ซึ่ง เครื่องนี้มีราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์
         รุ่นอื่นๆมาก



15. พีดีเอ (PDA – Personal Digital Assistants) ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีกี่กลุ่มประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
ตอบ. แบ่งเป็น กลุ่ม คือ
               - Palm
                  เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เกิดขึ้นมาก่อน มีระบบปฎิการที่เป็นของตัวเองที่เรียกว่า
                  palm os เหมาะสำหรับใช้งานเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำ
               - Pocket Pc
                  คล้ายกับเครื่อง palm แต่จะมีระบบปฎิบัติการที่ไม่เหมือนกัน คือ จะใช้ระบบปฎิบัติการที่เป็น
                  ของบริษัทไมโครซอฟท์ สำหรับการใช้วินโดว์บนเครื่อง พีซี จะสามารถใช้งานได้ง่าย



16.ภาษาธรรมชาติ (natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง

ตอบ. เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีเช่น รับรู้หรือจดจำ
         เสียงมนุษย์ได้ เช่น ระบบที่เรียกว่า speech recognition ซึ่งสามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำต่างๆ แล้ว
         เอาไปวิเคราะห์พร้อมทั่งสั่งการได้เองอัตโนมัติเป็นการช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์ิ เช่น ป้อน
         ข้อมูลด้วยเสียงแทนการพิมพ์ข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดเข้าไปตรงๆ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน
         ของผู้ใช้ลงไปได้มาก เป็นต้น



----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


โดย นายเอกลักษณ์  ทะเกิงลาภ
คณะเทคโนโลยีการจัดการ
สาขาการจัดการ
วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
กลุ่มเรียน พุธเช้า (08.00 -11.00)